หัวข้อ

การสังหารหมู่ที่เมาน์เทนมีโดวส์

วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1857 เหล่าพันธมิตรชาวอินเดียนแดงช่วยทหารอาสาสมัครประมาณ 50 ถึง 60 นายทางภาคใต้ของยูทาห์สังหารหมู่ผู้อพยพราว 120 คนที่กำลังเดินทางด้วยเกวียนไปแคลิฟอร์เนีย เหตุการณ์อันน่าสลดใจครั้งนี้ซึ่งมีเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบรอดชีวิตเพียง 17 คน เกิดขึ้นในหมู่บ้านที่เรียกว่าเมาน์เทนมีโดวส์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของซีดาร์ซิตี้ราว 35 ไมล์

เพราะผู้กระทำผิดเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย ศาสนจักรจึงพยายามอย่างมากเพื่อเยียวยาบาดแผลอันเกิดจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ในปี ค.ศ. 1999 กอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ประธานสมัยนั้นไปสมทบกับลูกหลานของผู้เคราะห์ร้ายเพื่ออุทิศอนุสาวรีย์ ณ สถานที่ดังกล่าว ศาสนจักรทำงานกับกลุ่มลูกหลานนับแต่นั้นเป็นต้นมาเพื่อดูแลอนุสาวรีย์กับพื้นที่โดยรอบและตั้งใจจะปรับปรุงตลอดจนอนุรักษ์พื้นที่นั้นในอนาคต

ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อพยายามเผยแพร่รายละเอียดของเหตุการณ์ ผู้นำวิสุทธิชนยุคสุดท้ายจึงเปิดหอจดหมายเหตุของศาสนจักรให้คณะนักเขียนหนังสือปี 2007 เรื่อง Massacre at Mountain Meadows ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์ พูดที่งานครบรอบหนึ่งร้อยห้าสิบปีของการสังหารหมู่เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2007 ดังนี้

ถึงแม้จะเป็นลูกจ้างศาสนจักร แต่นักเขียนเหล่านี้รักษาการควบคุมในฐานะบรรณาธิการอย่างเต็มที่และดึงข้อสรุปของตนจากชุดเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ที่รวบรวมไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน พวกเขามีสิทธิ์ใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดซึ่งศาสนจักรถือครองอยู่ ข้อสรุปสำคัญสองข้อที่นักเขียนได้คือ (1) ข้อความที่สื่อความประสงค์และเจตนารมณ์ของบริคัม ยังก์จะไม่สอดเข้าเกี่ยวข้องกับกรณีคนเข้าเมืองมาถึงช้าเกินไป และ (2) ความรับผิดชอบเรื่องการสังหารหมู่ตกอยู่กับผู้นำในท้องที่ของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายในเขตใกล้เมาน์เทนมีโดวส์ ซึ่งเป็นทั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการทหารและพลเรือนและมีสมาชิกศาสนจักรปฏิบัติตามการกำกับดูแลของพวกเขา

ถึงแม้ไม่มีใครรู้เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อย่างครบถ้วน แต่งานของนักเขียนสามคนนี้ช่วยให้เรารู้เหตุการณ์เลวร้ายดังกล่าวมากกว่าที่เคยรู้ เราเสียใจอย่างสุดซึ้งเมื่อรู้ความจริง พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ที่เราเลื่อมใสศรัทธาชิงชังการฆ่าชายหญิงและเด็กอย่างเลือดเย็น โดยแท้แล้ว พระกิตติคุณสนับสนุนความสงบสุขและการให้อภัย สิ่งที่สมาชิกศาสนจักรของเราทำเมื่อนานมาแล้วแสดงให้เห็นว่าพวกเขาจงใจออกห่างคำสอนและความประพฤติแบบชาวคริสต์อย่างไม่อาจให้อภัยได้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งเกิดขึ้น แต่เราสามารถระลึกถึงและให้เกียรติผู้ถูกสังหารที่นี่ได้

วันนี้เราขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งสำหรับการสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นในหุบเขานี้เมื่อ 150 ปีก่อนและสำหรับความทุกข์แสนสาหัสจนสุดพรรณนาที่ไม่ควรเกิดขึ้นกับผู้เคราะห์ร้ายในเวลานั้นและญาติๆ ของพวกเขาจวบจนปัจจุบัน

หมายเหตุแนวทางการเขียน:เมื่อรายงานเกี่ยวกับศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย โปรดใช้ชื่อเต็มของศาสนจักรในการอ้างถึงครั้งแรก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ชื่อของศาสนจักร ไปที่ออนไลน์แนวทางการเขียน.