ข่าวเผยแพร่

ผู้สอนศาสนาคนแรก

ประธานบริคัม ยังเรียกเอ็ลเดอร์ 13 คนให้ไปรับใช้เป็นผู้สอนศาสนาคนแรกๆในเอเซีนใต้ รวมถึงสี่คนที่ต้องไปรับใช้ในประเทศสยาม  เอ็ลเดอร์ทั้งสิบสามคนลงเรื่อชื่อมอนซูนที่ซานฟรานซิสโกในต้นปี 1853 และไปถึงเมืองกัลกัตตา ในประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 26 เมษายน 1853   เอ็ลเดอร์สองในสี่คนที่ถูกเรียกไปประเทศสยามถูกเปลี่ยนการมอบหมายใหม่  เหลือเพียงสองคนคือ เอ็ลเดอร์ อีลัม ลัดดิงตัน และเอ็ลเดอร์ ลีไว ซาเว็จ พยายามเดินทางไปสยามผ่านทางย่างกุ้ง ประเทศพม่า  แต่เรือเกิดรั่วระหว่างทางเลยต้องเดินทางกลับกัลกัตตา  หลังจากเรือซ่อมเสร็จก็มุ่งหน้าไปยังพม่าอีกครั้งหนึ่งและไปถึงย่างกุ้งในวันที่ 10 สิงหาคม 1853  ตามรายงานของพวกเขา  ผู้สอนศาสนารู้สึก “สิ้นเนื้อประดาตัวและโดดเดี่ยว  เป็นคนแปลกหน้าในแผ่นดินต่างชาติ ซึ่งไม่มีอะไรเลยนอกจากสงครามและการนองเลือด”1  มีเพียงเอ็ลเดอร์ ลัดดิงตันเท่านั้นที่ไปถึงสยาม  คู่ของเขาป่วยเกินกว่าที่จะเดินทางได้  เขาเดินทางมาถึงเมื่อวันที่ 6 เมษายน 1854 เกือบหนึ่งปีหลังจากที่เขาออกจากอเมริกา  สามวันหลังจากที่เรือมาถึงฝั่ง เอ็ลเดอร์ ลัดดิงตันให้บัพติศมา เจมส์ เทรล กับตันเรือ และภรรยาของเทรล  เป็นเพียงบัพติศมาเดียวระหว่างสี่เดือนกับห้าวันที่เขาอยู่ในกรุงเทพฯ  ถูกขว้างด้วยก้อนหินสองครั้งและถูกวางยาพิษหนึ่งครั้ง  เอ็ลเดอร์ ลัดดิงตันยังคงเด็ดเดี่ยวและเต็มไปด้วยศรัทธา  เขาทำงานในหมู่ชาวยุโรปเพราะไม่สามารถพูดภาษาต่างชาติได้

จากจดหมายที่เขียนถึงผู้นำศาสนจักรลงวันที่ 1 มิถุนายน 1854 เอ็ลเดอร์ ลัดดิงตันผู้ว้าเหว่และท้อถอยเขียนไว้ว่า “ผมอาศัยอยู่ในเขตที่ไม่มีสุขอนามัย  มีเพื่อนไม่กี่คน และล้อมรอบไปด้วยศัตรู…ผมไปเยี่ยมเทศกาลหนึ่งของพวกเขา (ชนพื้นเมือง) เมื่อสองสามวันที่แล้ว  ผมได้รับการเตือนให้พกอาวุธไปด้วย…เป็นเทศกาลที่งดงามดังภาพวาด  มีดอกไม้ไฟ  การเต้นรำแบบพม่า  มีการสวมหน้ากากและแต่งหน้าแบบอินเดีย ในรูปแบบของชาวเอเซีย… ผมมีโอกาสพูดหนึ่งครั้งในทุกๆวันสะบาโตตั้งแต่มาถึงกรุงเทพฯ โดยทั่วไปแล้วจะมีชาวยุโรปแปดถึงสิบคนเข้าร่วม  ผมพยายามที่จะเรียนรู้ภาท้องถิ่น… ผมจะอดทนอยู่ต่อไปจนกว่าพวกท่านจะบอกว่าพอแล้ว และหากท่านเห็นสมควรที่จะเรียกผมกลับบ้าน ผมคงเหมือนขึ้นสวรรค์จริงๆและจะมีความสุขอย่างมาก  หรือถ้าท่านจะบอกว่า “ให้อยู่ต่ออีก  ผมก็จะทำตาม แม้ว่ามันไม่ใช่ความต้องการของผมก็ตาม แต่เพื่อให้พระประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์สำเร็จ”2  ไม่นานหลังจากนั้น เอ็ลเดอร์ ลัดดิงตันก็ถูกเรียกให้กลับบ้าน  ในการเดินทางกลับทางทะเล เขาต้องเผชิญกับพายุใต้ฝุ่น การกบฏ  ไฟไหม้เรือ และความอดอยาก  จากการรอดชีวิตในอันตรายอีกหลายอย่าง ในที่สุดเขาก็มาถึงซานฟรานซิสโกอย่างปลอดภัยในวันที่ 27 มิถุนายน 1855  แม้งานเผยแผ่ศาสนาของเขาจะต้องเดินทางไกลและเผชิญการท้าทายมากที่สุดในยุคต้นๆของศาสนจักร แต่เขาก็เชื่อฟังจนถึงที่สุดด้วยความกล้าหาญและศรัทธา

การอุทิศประเทศไทย

เกือบหนึ่งศตวรรษหลังจากงานเผยแผ่ศาสนาของเอ็ลเดอร์ ลัดดิงตันก่อนที่ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายจะกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง  ในช่วงปี 1950 และต้นปี 1960 ครอบครัววิสุทธิชนยุคสุดท้ายในกรุงเทพฯได้รับอนุญาตให้จัดการประชุมนมัสการ  ขณะที่สงครามเวียดนามกำลังตึงเครียดและบรรดาทหารวิสุทธิชนยุคสุดท้ายมารวมกันนมัสการ มีการเริ่มตั้งกลุ่มขึ้นตามฐานทัพอากาศต่างๆของสหรัฐ เช่นที่ อุดร  อุบล  ตาคลี  และ โคราช

และแล้วในเช้าวันที่ 2 พฤศจิกายน 1966 ในกรุงเทพฯ เวลา 6.30 น.  เอ็ลเดอร์ กอร์ดอน บี ฮิงค์ลีย์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองพร้อมกับผู้นำอีกหลายคนไปรวมตัวกันในสวนลุมพินี ใกล้หอนาฬิกาเพื่ออุทิศประเทศไทยเพื่อสั่งสอนพระกิตติคุณ  สันติสุขแพร่กระจายในอากาศยามเช้าตรู่วันนั้นในสวนแห่งนี้ท่ามกลางความแออัดของกรุงเทพมหานคร  เอ็ลเดอร์ฮิงค์ลีย์ สวดอ้อนวอนให้ดวงใจของผู้คนอ่อนโยนลงและให้ผู้สอนศาสนาที่จะมาสอนในแผ่นดินนี้สามารถเรียนรู้ภาษาไทย  ท่านสวดอ้อนวอนว่าจะมีคนมากมาย “แท้จริงแล้ว นับพัน นับหมึ่น จะได้ยินข่าวสารของผู้สอนศาสนา”3

ความสับสนอลหม่านของสงครามเวียดนามใกล้ถึงจุดสูงสุด ทำให้ขั้นตอนการยอมรับศาสนจักรอย่างเป็นทางการในประเทศไทยช้าลง  แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นอิสระจากสงครามมานับร้อยๆปี แต่การต่อสู้ตามชายแดน สงครามในประเทศเพื่อนบ้าน และการหลั่งไหลเข้ามาของผู้ลี้ภัยอย่างต่อเนื่องทำให้ขั้นตอนทางการเมืองมีความยุ่งยาก  ในที่สุดศาสนจักรก็ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1968  ผู้สอนศาสนา 6 คนถูกย้ายจากไต้หวันและฮ่องกงสู่กรุงเทพฯ  ภายในสองสามวันพวกเอ็ลเดอร์ได้ลงทะเบียนเรียนที่สถาบัน AUA เพื่อเริ่มเรียนรู้ภาษาไทย  ภายในหนึ่งสัปดาห์พวกเขาได้จ้างผู้แปลคนหนึ่ง แปลบทสนทนาผู้สอนศาสนาในภาษาไทย  เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 1968 เอ็ลเดอร์ทั้งหกคนเริ่มงานเผยแผ่ศาสนาในหมู่คนไทย  การประชุมแรกในภาษาไทยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคมในปีนั้น

มุ่งหน้าสู่การเป็นคริสตศาสนิกชน

การท้าทายแรกที่ผู้สอนศาสนาเผชิญคือการช่วยคนไทยให้เรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์  ประเพณีที่ถูกสถาปนาขึ้นมาหลายศตวรรษ ทำให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย และ 95 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยนับถือศาสนาพุทธ  ดังนั้นการตัดสินใจติดตามพระเยซูคริสต์จึงเสี่ยงที่จะถูกปฏิเสธจากเพื่อนและครอบครัวและอาจทำให้ครอบครัวไม่เห็นด้วย

การแปลพระคัมภีร์มอรมอน

ศรีลักษณา “ศรี” สุนทรหุต เริ่มช่วยแปลพระคัมภีร์มอรมอนในปี 1970 ในฐานะเป็นผู้นำในการแปลพระคัมภีร์มอรมอนในคณะกรรมแปลชุดแรกในประเทศไทย  ศรีผู้มีทักษะในด้านภาษาอย่างยอดเยี่ยมเพราะเคยใช้ชีวิตหลายปีในพระราชวังของสมเด็จพระราชินี ทำโครงการนี้สำเร็จในปี 1974 และคนอื่นๆมาช่วยในการเตรียมงานแปลไปสู่การตีพิมพ์  และตีพิมพ์ออกมาในปี 1976

“การแปลนำพระวิญญาณมาสู่ตัวดิฉํน” ซิสเตอร์ศรีกล่าว “ดิฉันรักพระบิดาบนสวรรค์ของดิฉันมากสำหรับการหลั่งเทของประทานแห่งลิ้นและภาษามาให้ดิฉัน”

ในปี 1975 ขณะที่รอการอนุมัติงานแปลของพระคัมภีร์มอรมอน เธอก้เริ่มต้นแปลหลักคำสอนและพันธสัญญา  สมาชิกคนอื่นๆในคณะกรรมการแปลหยุดงานของเขาในโครงการนี้ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ  เหตุนี้ ศรี เลยกลายเป็นตัวหลักของการแปลพระคัมภีร์  แม้ว่าต้องไปทำงานประจำในระหว่างวัน แต่เมื่อกลับบ้านเธอจะรีบทำงานแปล  บ่อยครั้งที่ต้องทำงานดึกดื่นค่ำคืน เพื่อให้งานแปลหลายข้อนั้นเสร็จสมบูรณ์เพื่อพร้อมสำหรับคณะกรรมการในการประชุมประจำวัน  มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เธอไปช่วยสมาชิกคนอื่นทำโครงการทำความสะอาด  หลังจากหลายชั่วโมงของการทำงานหนัก คนอื่นแนะนำให้เธอกลับบ้านไปพักผ่อน  เธอบอกว่าเธอพักผ่อนแล้วเพราะเมื่อกลับบ้านเธอรู้สึกว่าต้องแปลและนอนไม่หลับ  งานแปลเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี 1979

ช่วงเวลาสำคัญในประเทศไทย

พ.ศ. 1238          สุโขทัย อาณาจักรแรกของไทยถูกสถาปนา

1782                 สุโขทัยเปลี่ยนชื่อเป็นสยาม

6 เม.ย.               ผู้สอนศาสนาคนแรก เอ็ลเดอร์ อีลัม ลัดดิงตันมาถึงกรุงเทพฯ                                         1854

1939                 สยามเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย  หรือเมืองไทย ซึ่งแปลว่า “แผ่นดินแห่งเสรีภาพ”

27 มี.ค.              ท้องถิ่นประเทศไทยถูกจัดตั้งขึ้นตามความต้องการของทหารอเมริกัน                           1966

2 พ.ย.                เอ็ลเดอร์กอร์ดอน บี ฮิงค์ลีย์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอุทิศประเทศไทย                  1966                      

2 ก.พ.                ประธานคีธ อี การ์เนอร์ แห่งคณะเผยแผ่เซาเทิร์นฟาร์อิสต์มิชชั่นนำผู้สอนศาสนาหกคน 1968                 รับใช้ในประเทศไทย  เกร็ก จี คริสเตนเซน  ลารีย์ อาร์ ไวท์  พีเตอร์ ดับเบิลยู แบสเคอร์                         อลัน เอช เฮส   โรเบิร์ต ดับเบิลยู วิเนการ์  แอล คาร์ล แฮนเซน

30 พ.ย.              เอ็ลเดอร์ เอสรา แทฟท์ เบ็นสัน แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเยือนราชอาณาจักรไทย  1968

พ.ย. 1969           เป็นส่วนหนึ่งของคณะเผยแผ่เซาอีสต์เอเซียนมิชชั่น

28 มิย.               คณะเผยแผ่กรุงเทพฯ ประเทศไทยได้รับการจัดตั้ง                                                          1973

ส.ค. 1974           อาคารโบสถ์แห่งแรกได้รับการอุทิศในกรุงเทพฯ                                                            ธ.ค. 1974        ประเทศไทยมีสมาชิก 300 คนและผู้สอนศาสนาเต็มเวลา 50 คนรับใช้ใน 9 สาขา

1976                 พระคัมภีร์มอรมอนตีพิมพ์ในภาษาไทย  มีผู้สอนศาสนา 170 คนรับใช้ใน 20 กว่าสาขา

1985                 รัฐบาลกำหนดให้ผู้สอนศาสนาออกนอกประเทศทุกๆ 90 วันเพื่อต่อวีซ่า

1988                 อนันต์ แอ็ลดริจ เป็นประธานคณะเผยแผ่คนไทยคนแรก ของคณะเผยแผ่ประเทศไทย

1990                 คนไทยกลุ่มใหญ่นำโดยสุชาติ ไชยชะนะเดินทางไปพระวิหาร มนิลา ฟิลิปปิน์เป็นครั้งแรก

ก.ค. 1991           แลรีย์ อาร์ ไวท์ หนึ่งในหกผู้สอนศาสนาชุดแรกที่มาประเมศไทย กลายมาเป็นประธานค             คณะเผยแผ่กรุงเทพฯ ประเทศไทย

7 มิ.ย.                เอ็ลเดอร์ นีล เอ. แมกซ์เวลล์ และ เอ็ลเดอร์ รัสเซล เอ็ม เนลสัน แห่งโควรัมอัครสาวก    1992                     สิบสองประสาทพรของอัครสาวกแก่ประเทศ

ก.ย. 1992           ข้อกำหนดที่ให้ผู้สอนศาสนาต้องออกนอกประเทศเพื่อต่อวีซ่าทุก 90 วัน ยุติลง

ก.ค. 1994           ทรอย แอล โคริโว ผู้สอนศาสนาคนที่สิบที่ถุกเรียกมาประเทศไทย และเป็นสมาชิกคนหนึ่ง                      ในคณะกรรมการแปลพระคัมภีร์มอรมอนชุดแรก กลายมาเป็นประธานคนใหม่ของคณะ                เผยแผ่กรุงเทพฯ ประเทศไทย

18 มิ.ย.              สเตคกรุงเทพฯ ประเทศไทย ถูกจัดตั้ง – เป็นสเตคแห่งแรกของประเทศไทย                  1995

12-13 มิ.ย.          ประธานกอร์ดอน บี ฮิงค์ลีย์ เยือนประเทศไทย – ประธานคนแรกของศาสนจักรที่เยือน 2000                   ประเทศไทย

14 พ.ค.              เอ็ลเดอร์ นีล แอล แอนเดอร์เซน แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเยือนประเทศไทย           2013

5 เม.ย.               วิศิษฐ์  คณาคำ ถูกเรียกเป็นสาวกเจ็ดสิบ – คนไทยคนแรกที่ได้รับเรียกเป็นสาวกเจ็ดสิบ 2014

15 มิ.ย.              สเตคกรุงเทพฯเหนือได้รับการจัดตั้ง – สเตคแห่งที่สองของประเทศไทย                       2014

5 เม.ย.               ประธานโธมัส เอส มอนสัน ประกาศสร้างพระวิหารของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่ง 2015              วิสุทธิชนยุคสุดท้ายในกรุงเทพฯ ประเทศไทย – มีพระวิหารแห่งแรกในเอเซียตะวันออก                     เฉียงใต้

14 มิ.ย.              สเตคอุบลได้รับการจัดตั้ง – สเตคที่สามในประเทศไทย                                                 2015

15-16 ส.ค.         เอ็ลเดอร์ เจฟฟรี อาร์ ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเยือนประเทศไทย           2015

21 ก.พ.              เอ็ลเดอร์ แกรี่ แอล สตีเวนสันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และเอ็ลเดอร์ เกอริต ดับเบิลยู 2016                 กอง ฝ่ายประธานโควรัมสาวกเจ็ดสิบเยือนประเทศไทย เพื่อเริ่มฉลอง 50 ปีศาสนจักร                         ในประเทศไทย

11-12 พ.ย.         การเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ศาสนาจักรในประเทศไทย                                                    2016

27 พ.ย.              สเตคกรุงเทพฯตะวันตกได้รับการจัดตั้ง – สเตคที่สี่ในประเทศไทย                                2016

References :

Quoted in “Beginning in Thailand,” in Spencer J. Palmer, The Church Encounter Asia (Salt Lake City: Deseret Book Co., 1970) pp. 127-38
Ibid., p. 128
Ibid., p. 130

หมายเหตุแนวทางการเขียน:เมื่อรายงานเกี่ยวกับศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย โปรดใช้ชื่อเต็มของศาสนจักรในการอ้างถึงครั้งแรก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ชื่อของศาสนจักร ไปที่ออนไลน์แนวทางการเขียน.